KM Blog

เปิดให้บริการแล้วสำหรับ Blog การจัดการความรู้ คณะศิลปศาสตร์ สำหรับเผยแพร่ความรู้ต่างๆ ให้กับชุมชนชาวสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตศรีสะเกษ และบุคคลภายนอก           หากบุคลากรสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตศรีสะเกษ ท่านใดต้องการมีKM Blog สามารถส่งคำขอมาได้ที่ อีเมล์ :  This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.  ทางเจ้าหน้าที่จะทำการกำหนดพื้นที่สำหรับเก็บ KM Blog ให้ท่านและแจ้งขั้นตอนการใช้งานเบื้องต้นให้กับท่านทางอีเมล์  

 …………………………………..

แผนการจัดการความรู้ คณะศิลปศาสตร์  สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตศรีสะเกษ

แผนการจัดการความรู้คณะศิลปศาสตร์ กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนานโยบายและแผนการปฏิบัติงานในระบบการจัดการความรู้ ตามแนวคิดที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการและกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร โดยเน้นที่การให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์จากความรู้ และการบริหารความรู้เพื่อนำไปพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

นิยาม KM blog

KM Blog : ศูนย์รวบรวมคลังความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรคณะศิลปศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตศรีสะเกษ

นิยาม Knowledge Management

 

KM (Knowledge Management) ตามนิยามของ ก.พ.ร. หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบเพื่อให้ทุกคนในองค์การสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์การมีความสามารถและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การจัดการความรู้ในองค์กร   หมายถึง   การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในทุกส่วนในองค์กรซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้ง ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ

1. ความรู้เฉพาะตัว หรือความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางคนจึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม

2. ความรู้ทั่วไป หรือความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

เป้าหมายของ KM

  • เพื่อพัฒนางาน ให้มีคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น

  • เพื่อพัฒนาคน คือ ผู้ปฏิบัติงาน

  • เพื่อพัฒนา “ฐานความรู้” ขององค์กรหรือหน่วยงาน เป็นการเพิ่มพูนทุนความรู้หรือทุนปัญญาขององค์กร ซึ่งจะช่วยทำให้องค์กรมีศักยภาพ

ประโยชน์ของ KM

  • สร้างนวัตกรรมและการเรียนรู้รวมถึงการส่งเสริมให้แสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความรู้ได้อย่างเต็มที่

  • เพิ่มคุณภาพขององค์กร

  • ลดค่าใช้จ่าย โดยกำจัดกระบวนการที่ไม่สร้างคุณค่าให้กับงาน

  • ลดขั้นตอนในการทำงาน และเพิ่มช่องทางในการทำกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  • ให้ความสำคัญกับความรู้ของบุคลากรและเพิ่มความรู้ทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย

 ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินงานการจัดการความรู้ คือ

    1. ผู้บริหารทุกระดับให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง 

    2. อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา ให้ความร่วมมือ พร้อมที่จะปรับปรุงเปลี่ยนเจตคติในการทำงานโดยใช้ความรู้เป็นฐานในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลอื่น

    3. สร้างแรงจูงใจให้บุคลากรทุกฝ่ายเปลี่ยนแปลงเจตคติเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถของตนเอง

    4. มีระบบการติดตามประเมินผลการจัดการความรู้อย่างเป็นรูปธรรม

สมาชิกกลุ่ม KM

      คุณเอื้อ      ดร.สุวชัย   ฤทธิโสม

     คุณอำนวย     ผศ.จิราพร    โชตึก

  คุณประสาน    นางสาวสายชล  ภัคคะธารา

   คุณกิจ   ผศ.ชุติญา  จงมีเสร็จ

   คุณกิจ  นายคีรีรัฐ  ราชิวงศ์

  คุณกิจ        นางสาวเยาวภา  ทองงอก

   คุณกิจ       นายกิติศักดิ์  ชัยนาม

อ.สุคนธ์ธา  พุ่มเมือง     คุณกิจ    นางสาวสุคนธ์ธา   พุ่มเมือง

 คุณวิศาสตร์     นางสาวกัลยา  กิตติพันธ์

 

งานวิจัยและพัฒนา

งานวิจัยและพัฒนา

ข้อมูลนักศึกษา

ข้อมูลนักศึกษา

 

คณะ/หลักสูตร

จำนวนนักศึกษา

ชั้นปีที่

1

ชั้นปีที่

2

ชั้นปีที่ 3

ชั้นปีที่ 4

ชั้นปีที่ 5

รวม

คณะศิลปศาสตร์

           

ศศ.บ.นันทนาการเชิงพาณิชย์และการท่องเที่ยว

6

4

11

5

-

26

ศศ.บ.ธุรกิจสุขภาพ

-

-

-

-

-

-

รวมทั้งสิ้น

6

4

11

5

-

26

งานประกันคุณภาพการศึกษา

สาขาวิชาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

  •  

    หลักสูตรที่เปิดสอน

     

    หลักสูตรที่เปิดสอน คือ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

     

    1. สาขาวิชาที่เปิดสอน คือ สาขาวิชานันทนาการจำนวน  1  โปรแกรม

     

     1.1 โปรแกรมวิชานันทนาการเชิงพาณิชย์และการท่องเที่ยว

     

    2. สาขาวิชาที่เปิดสอน คือ สาขาธุรกิจจำนวน  1  โปรแกรม

     

    2.1 โปรแกรมวิชาธุรกิจสุขภาพ