KM Blog
- รายละเอียด
- หมวด: คณะศิลปศาสตร์
- เผยแพร่เมื่อ วันพฤหัสบดี, 16 เมษายน 2558 16:33
- เขียนโดย Super User
- ฮิต: 1031
เปิดให้บริการแล้วสำหรับ Blog การจัดการความรู้ คณะศิลปศาสตร์ สำหรับเผยแพร่ความรู้ต่างๆ ให้กับชุมชนชาวสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตศรีสะเกษ และบุคคลภายนอก หากบุคลากรสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตศรีสะเกษ ท่านใดต้องการมีKM Blog สามารถส่งคำขอมาได้ที่ อีเมล์ : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. ทางเจ้าหน้าที่จะทำการกำหนดพื้นที่สำหรับเก็บ KM Blog ให้ท่านและแจ้งขั้นตอนการใช้งานเบื้องต้นให้กับท่านทางอีเมล์
…………………………………..
แผนการจัดการความรู้ คณะศิลปศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตศรีสะเกษ
แผนการจัดการความรู้คณะศิลปศาสตร์ กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนานโยบายและแผนการปฏิบัติงานในระบบการจัดการความรู้ ตามแนวคิดที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการและกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร โดยเน้นที่การให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์จากความรู้ และการบริหารความรู้เพื่อนำไปพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป
นิยาม KM blog
KM Blog : ศูนย์รวบรวมคลังความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรคณะศิลปศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตศรีสะเกษ
นิยาม Knowledge Management
KM (Knowledge Management) ตามนิยามของ ก.พ.ร. หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบเพื่อให้ทุกคนในองค์การสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์การมีความสามารถและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การจัดการความรู้ในองค์กร หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในทุกส่วนในองค์กรซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้ง ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
1. ความรู้เฉพาะตัว หรือความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางคนจึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
2. ความรู้ทั่วไป หรือความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
เป้าหมายของ KM
-
เพื่อพัฒนางาน ให้มีคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น
-
เพื่อพัฒนาคน คือ ผู้ปฏิบัติงาน
-
เพื่อพัฒนา “ฐานความรู้” ขององค์กรหรือหน่วยงาน เป็นการเพิ่มพูนทุนความรู้หรือทุนปัญญาขององค์กร ซึ่งจะช่วยทำให้องค์กรมีศักยภาพ
ประโยชน์ของ KM
-
สร้างนวัตกรรมและการเรียนรู้รวมถึงการส่งเสริมให้แสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความรู้ได้อย่างเต็มที่
-
เพิ่มคุณภาพขององค์กร
-
ลดค่าใช้จ่าย โดยกำจัดกระบวนการที่ไม่สร้างคุณค่าให้กับงาน
-
ลดขั้นตอนในการทำงาน และเพิ่มช่องทางในการทำกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
-
ให้ความสำคัญกับความรู้ของบุคลากรและเพิ่มความรู้ทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย
ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินงานการจัดการความรู้ คือ
-
ผู้บริหารทุกระดับให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
-
อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา ให้ความร่วมมือ พร้อมที่จะปรับปรุงเปลี่ยนเจตคติในการทำงานโดยใช้ความรู้เป็นฐานในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลอื่น
-
สร้างแรงจูงใจให้บุคลากรทุกฝ่ายเปลี่ยนแปลงเจตคติเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถของตนเอง
-
มีระบบการติดตามประเมินผลการจัดการความรู้อย่างเป็นรูปธรรม